• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เข้าพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันว่า จะอยู่อย่างไม่ประมาท ไม่ควรอยู่ร่วมกัน

Started by popcorn2468, March 04, 2024, 01:26:10 PM

Previous topic - Next topic

popcorn2468

เข้าพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันว่า จะอยู่อย่างไม่ประมาท ไม่ควรอยู่ร่วมกัน ๒ รูป ควรแยกกันอยู่ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานตามที่เรียนมาจากสำนักพระศาสดาจะรวมกัน ๒ เวลา คือ เวลาเย็น ทำวัตรแก่พระเถระ และเวลาบิณฑบาตเท่านั้น..
มหาอุบาสิกาเรียนกรรมฐานจากพวกภิกษุ... บรรลุเป็นพระอนาคามี ถึงพร้อมด้วยอภิญญา จัดอาหารที่เหมาะให้ภิกษุบรรลุทุกรูป  ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป เรียนกรรมฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงพระอรหัตในสำนักของพระพุทธเจ้า แล้วเดินทางไปอยู่จำพรรษาที่ "มาติกคาม��" เป็นหมู่บ้านที่มีคนอยู่หนาแน่นใกล้กับเชิงเขา ภายในแว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล (= แคว้นโกศล) มารดาของเจ้าของเรือน (แม่ของเจ้าของเรือน เป็นเรือนที่มีทาสและกรรมกรอยู่อาศัยด้วย) หลังหนึ่ง เห็นพวกภิกษุกำลังเดินมาก็นิมนต์ให้ฉัน และนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา ณ วิหาร (ใกล้หมู่บ้านนี้มีวิหารที่ภิกษุพวกอื่นเคยอยู่พำนักกัน ซึ่ง ขณะนี้ยังไม่มีภิกษุ) เมื่อพวกท่านรับนิมนต์แล้ว
มหาอุบาสิกา (นางมาติกมาตา�� = มารดาของเจ้าของเรือนชาวมาติกคาม) ก็ให้คนไปทำ ความสะอาดวิหารที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น
เข้าพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันว่า จะอยู่อย่างไม่ประมาท ไม่ควรอยู่ร่วมกัน ๒ รูป ควรแยกกันอยู่ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานตามที่เรียนมาจากสำนักพระศาสดาจะรวมกัน ๒ เวลา คือ เวลาเย็น ทำวัตรแก่พระเถระ และเวลาบิณฑบาตเท่านั้น..
�เวลาเย็นวันหนึ่ง มหาอุบาสิกาให้คนถือเภสัชต่างๆ เข้ามาในวิหารเวลาใกล้ค่ำไม่เห็นภิกษุ ประชาชนที่เข้ามาในวิหารก่อนหน้านั้นจึงบอกถึงกติกาว่า ถ้าจะพบภิกษุก็พึงตีระฆัง, เมื่อตีแล้ว นางก็เห็นภิกษุเดินมาจากทางนั้นทางนี้ทีละรูป นางคิดว่า พวกภิกษุคงทะเลาะกันจึงสอบถาม พวกท่านชี้แจงว่า ไม่ได้ทะเลาะวิวาทกัน แต่แยกกันทำสมณธรรม นางถามว่า สมณธรรมคืออะไร? ขอให้สอนให้บ้าง ภิกษุจึงสอนให้พิจารณาอาการ ๓๒ (กายคตาสติ) และวิปัสสนา
นับแต่วันนั้น นางก็สาธยายอาการ ๓๒ และเจริญวิปัสสนา (บรรลุฌานในอาการ ๓๒ คือ ปฐมฌานแล้วใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา) ไม่นานก็บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ (= เป็นพระอนาคามี) ทั้งยังได้ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกียอภิญญาด้วย
มหาอุบาสิกาใคร่ครวญดูว่า ภิกษุเหล่านั้นบรรลุมรรคผลกันหรือยัง? ก็พบว่า พวกท่านยัง ไม่บรรลุฌานและวิปัสสนาเลย เป็นเพราะอะไรหนอ? ก็พบว่าพวกท่านยังไม่ได้อาหารที่สัปปายะ, นางจึงเอาใจใส่จัดแจงอาหารรสเลิศให้ทุกๆ วัน ไม่กี่วันต่อมา พวกท่านก็บรรลุพระอรหัตพร้อม ทั้งปฏิสัมภิทา ๔ พวกท่านรู้อุปการะว่า การบรรลุมรรคผลของพวกเราสำเร็จได้เพราะมีมหา อุบาสิกาเป็นที่พึ่ง ครั้นออกพรรษาแล้ว พวกท่านบอกลา มหาอุบาสิกาว่า พวกเราจะไปเข้าเฝ้า พระศาสดา นางกล่าวว่า "ดีแล้ว ต่อไปก็ขอให้พวกพระผู้เป็นเจ้าพึงมาเยี่ยมดิฉันบ้างนะ" ภิกษุ เหล่านั้นเข้าเฝ้าในพระเชตวัน ถวายอภิวาทแล้ว ทรงไต่ถามถึงความเป็นอยู่ตลอดพรรษาที่ผ่านมา ...ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องมหาอุบาสิกานั้น และการได้รับอุปการะจากนางอย่างดี เพราะ นางรู้วาระจิต ได้จัดทำอาหารที่เหมาะสมตามที่พวกภิกษุคิด ทำให้พวกเราไม่ลำบากในเรื่อง อาหารเลย พระพุทธเจ้าข้า
ภิกษุรูปหนึ่งได้ยินภิกษุเหล่านั้นสรรเสริญมหาอุบาสิกาแล้ว ต้องการจะไปอยู่ยังที่นั้นบ้าง จึงทูลขอเรียนกรรมฐานในสำนักพระพุทธเจ้าแล้วเดินทางไป ถึงมาติกวิหารแล้วคิดว่า "เราเหนื่อย มาก เราอยากให้อุบาสิกาส่งคนมาปัดกวาดวิหารให้ที่" มหาอุบาสิการู้ความคิดของท่านแล้ว จึงส่งคนมาทำความสะอาดให้...ท่านคิดอยากได้น้ำดื่ม...ข้าวยาคูและแกงอ่อมตอนเช้า...อุบาสิกา ก็จัดให้คนนำมาถวายตามที่ท่านคิดทั้งหมด, ท่านคิดอยากพบตัว...มหาอุบาสิกาก็มาพบท่านที่ วิหาร, ภิกษุถามตรงๆ ว่า อุบาสิการู้จิตของคนอื่นหรือ...
นางยอมรับว่า "ใช่จ๊ะ" ภิกษุคิดทันทีว่า "แย่แล้วเรา เราเป็นปุถุชนย่อมคิดโน่นคิดนี่ อุบาสิกาก็จะรู้ทุกอย่างที่เราคิด เราไม่ควรอยู่ที่นี่" แล้วกล่าวว่า อาตมาขอลากลับไปหาพระศาสดา, แม้นางจะนิมนต์ให้อยู่ท่านก็ไม่ยอมอยู่
ภิกษุนั้นเดินทางกลับมายังพระเชตวัน พระศาสดาตรัสถามว่า ทำไมไม่อยู่ที่มาติกคาม? ท่านทูลว่า "กลัวอุบาสิกาล่วงรู้ความคิด" ตรัสว่า "เธอควรไปอยู่ที่นั่น เธอพึ่งทำการรักษาจิต เพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็พอ เพราะจิตรักษาได้ยาก เธอจงข่มจิตไว้ให้ได้อย่านึกถึงอารมณ์อะไรๆ การข่มจิตทำได้ยาก" แล้วตรัสภาษิตนี้
ภิกษุนั้นกราบทูลลาไปยังมาติกคามอีกครั้ง ฝ่ายอุบาสิกาทราบด้วยทิพยจักษุว่า ภิกษุนั้นรับพระโอวาทและกำลังเดินทางมา จึงให้จัดอาหารถวาย...ภิกษุมาอยู่ได้ ๒-๓ วันเท่านั้น สำรวม จิตกระทำสมณธรรมแล้วบรรลุพระอรหัต (= เป็นพระอรหันต์)
วันหนึ่ง ท่านก็ใคร่ครวญว่า มหาอุบาสิกานี้ เคยเป็นที่พึ่งของเราในอัตภาพก่อนๆ บ้าง หรือไม่หนอ? ก็ระลึกชาติย้อนหลังก็ไปพบว่า ในอัตภาพที่ ๙๙ (นับย้อนจากชาติปัจจุบันไป) นางเคยเป็นภรรยาของเรา (บริจาริกา) และนางได้นอกใจเรา (ผู้เป็นสามีในขณะนั้น) ได้ร่วมมือ กับชายชู้ฆ่าเรา โอ้ นางเคยทำกรรมหนักมาแล้ว
ฝ่ายมหาอุบาสิกาก็ใคร่ครวญดูว่า ภิกษุผู้เป็นบุตรของเรา ทำกิจของบรรพชิตถึงที่สุดหรือ ยังหนอ? (= บรรลุพระอรหัตหรือยัง?) รู้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงปลื้มใจมาก แล้วระลึกชาติ ตรวจดูว่าเราเคยเกี่ยวข้องกับภิกษุนี้มาก่อนหรือไม่? ก็ระลึกพบเรื่องราวเช่นเดียวกับที่ภิกษุระลึกได้ นางคิดว่า "พระเถระเห็นโทษของเราครั้งเมื่ออัตภาพที่ ๙๙ นั้นแล้ว เราเคยกำกรรมหนักไว้" แล้วคิดว่า เราเคยทำอุปการะต่อภิกษุนี้ไว้บ้างหรือไม่หนอ? ก็ระลึกไปพบว่า ในอัตภาพที่ ๑๐๐ เราก็เป็นภรรยาและได้ให้ชีวิต (ชีวิตทาน) "ในสถานที่เป็นที่ปลงจากชีวิตแห่งหนึ่ง" (ท่านไม่ได้ ระบุว่า นางยอมตายแทนด้วยเรื่องอะไร อาจหมายถึง ช่วยสามีจนตัวตายเองหรือช่วยสามีให้พ้น เงื้อมมือศัตรูก็ได้) นางดีใจว่า ได้เคยทำอุปการะแก่ภิกษุรูปนี้ และขณะที่ยังนั่งอยู่ในเรือน นางก็ (ใช้ฤทธิ์) กล่าวให้ภิกษุได้ยินว่า "ขอท่านจงใคร่ครวญไปยังอัตภาพที่ ๑๐๐"
พระเถระได้ยินแล้วด้วยทิพยโสตก็ระลึกไปและรู้เห็นเหตุการณ์นั้น ท่านคิดว่า "น่าปลื้มใจนัก อุบาสิกาได้เคยช่วยเหลือเราไว้" เกิดความร่าเริงแสดงธรรมว่า ด้วยมรรค ๔ ผล ๔ แก่มหาอุบาสิกา, จบแล้ว ท่านก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อธิบายพุทธภาษิต 
ข่มได้ยาก (ทุนฺนิคฺคหสฺส) เปลี่ยนแปลงเร็ว (ลหุโน), การฝึกจิต จึงจัดเป็นความดี (จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ) ได้แก่ การฝึกด้วยอริยมรรค ๔ (เช่น โสดาปัตติมรรค เป็นต้น) ทำจิตให้สิ้นพยศได้, ย่อมนำสุขมาให้ คือ สุขที่เกิดจากการบรรลุมรรคผลและนิพพาน (ดู ธ.อ.๑/๒๙๐-๒๙๘)
คติธรรมความรู้ ความรู้ปริยัติ เรื่อง "สมถะและวิปัสสนาภาวนา" ที่ถูกต้องแม่นยำดี แม้คนสอนยังไม่บรรลุประโยชน์ คือ ยังไม่สำเร็จฌาน มรรค ผล และนิพพาน แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ให้ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์ได้
บรรลุนิพพาน บรรลุธรรม ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพาน มรรคผลนิพพานมีจริงอนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน-guidelineนิพพานธาตุโพชฌงค์อายตนะขันธ์โพธิปักขิยธรรมสังโยชน์ไตรลักษณ์ปฏิจจสมุปบาทอินทรีย์อริยสัจ ๔กรรมวัฏฏะ
วิวัฏฏะมหาสุญญตาสูตรอรูปพรหมภูมิ ๔รูปพรหมภูมิ ๑๖อบายภูมิ ๔ – เดรัจฉานภูมิอบายภูมิ ๔ – อสุรกายภูมิอบายภูมิ ๔ – เปตภูมิ[url=htt